สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 พฤศจิกายน 2563

 

ข้าว
 
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,295 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,841 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.04
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,422 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,545 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,270 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 891 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,893 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 917 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,296 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,403 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,639 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 472 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,564 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 75 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 491 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,820 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 475  ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,657 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 163 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1834 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
“พาณิชย์”ยันมีมาตรการดูแลราคาข้าวให้กับเกษตรกร ทั้งการจ่ายส่วนต่างในโครงการประกันรายได้ และ
การใช้มาตรการเสริมผลักดันราคา หลังราคาข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูกาลใหม่ตกต่ำ แจงสาเหตุผู้ซื้อรอดูสถานการณ์ผลผลิต การบริโภคในประเทศลดจากนักท่องเที่ยวน้อยลง บาทแข็งทำส่งออกสู้คู่แข่งลำบาก ส่วนการส่งออกปี 64 มั่นใจดีขึ้น ย้ำไทยมีพันธุ์ข้าวที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก
นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคม
ผู้ส่งออกข้าวไทย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบปัญหาข้าวเปลือกหอมมะลิราคาตกต่ำว่า กรมฯ ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า ขณะนี้ผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิฤดูกาลผลิตปี 2563/64 อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวและกำลังทยอยออกสู่ตลาด ทำให้ผู้นำเข้ารอดูสถานการณ์ผลผลิตข้าวไทยว่ามีมากน้อยแค่ไหน ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การบริโภคในประเทศชะลอตัวจากนักท่องเที่ยวที่น้อยลง รวมถึงมีปัญหาการส่งออกลดลง เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งทำให้แข่งขันได้ยากและปัญหาค่าเงินบาท ขณะที่ผู้ค้าข้าวก็มี
การระบายข้าว เพื่อเสริมสภาพคล่องรองรับผลผลิตฤดูกาลใหม่ ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในช่วงนี้ปรับตัวลดลง
โดยข้าวเกี่ยวสดความชื้น 28-30% มีราคาตันละ 9,500–10,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกแห้งความชื้นไม่เกิน 15% ตันละ 12,000–12,500 บาท
ทั้งนี้ ขอชี้แจงต่อเกษตรกรว่า ขณะนี้รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 รอบที่ 1 แล้ว โดยกำหนดราคาเป้าหมายข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 10,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคา 11,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,000 บาท/ตัน ไม่เกิน 16 ตัน โดยจะจ่ายเงินส่วนต่างของราคาประกันให้กับเกษตรกร หากราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงต่ำกว่าราคาเป้าหมายส่วนมาตรการคู่ขนานซึ่งจะช่วยดูดซับผลผลิตฤดูกาลใหม่ที่จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ได้มีการจูงใจให้เกษตรกร สหกรณ์ สถาบันเกษตรกร รวมทั้งผู้ประกอบการค้าข้าวทั่วไปเก็บสต็อก เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพราคาตลาด โดยมีเป้าหมาย 7 ล้านตันข้าวเปลือก ผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ให้ค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร สหกรณ์เสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการร้อยละ 3 เป้าหมาย 4 ล้านตัน
นายวัฒนศักย์กล่าวว่า สำหรับการส่งออกข้าวไทยในปี 2564 คงต้องรอดูปริมาณของผลผลิตข้าวในปี 2563/64 ก่อนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เบื้องต้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าจะมีผลิตข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำที่มีเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก ซึ่งน่าจะส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศปรับตัวลดลงจากราคาที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาภัยแล้ง ทำให้ช่องว่างของราคาข้าวไทยกับข้าวของประเทศคู่แข่งลดน้อยลง และ
จะทำให้ศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกดีขึ้น และน่าจะส่งผลให้การส่งออกในปี 2564 ดีกว่าในปี 2563
ทางด้านประเด็นที่ไทยไม่มีพันธุ์ข้าวที่ไปแข่งขันในตลาดโลก คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 แล้ว โดยมีวิสัยทัศน์ คือ
ไทยเป็นผู้นําการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยเน้น “ตลาดนำการผลิต” เพื่อผลิตชนิดข้าว
ให้ตอบสนองความต้องการของตลาด โดยมีการจัดกลุ่มข้าวไทยเป็น 7 ชนิด ตามความต้องการของตลาด 3 ตลาด ได้แก่ 1.ตลาดพรีเมี่ยม ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมไทย 2.ตลาดทั่วไป ได้แก่ ข้าวขาวพื้นนุ่ม ข้าวขาวพื้นแข็ง และข้าวนึ่ง และ 3.ตลาดเฉพาะ ได้แก่ ข้าวเหนียว และข้าวสีหรือข้าวคุณลักษณะพิเศษ กำหนดให้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สามารถแข่งขันกับพันธุ์ของคู่แข่งในตลาดโลก เช่น เวียดนาม เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งยกระดับและเร่งรัด
การวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้นเตี้ย ผลผลิตสูง และคุณภาพดี
(สั้น เตี้ย ดก ดี)
ที่มา : commercenewsagency.com
 
เวียดนาม
กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามรายงานว่า เวียดนามทำรายได้กว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.91 หมื่นล้านบาท) จากการส่งออกข้าวเกือบ 5.3 ล้านตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 4 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 300,000 ตัน ไปต่างประเทศในเดือนตุลาคม กวาดรายได้ 161 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4. พันล้านบาท) ลดลงร้อยละ 33.2 และร้อยละ 22.5 ตามลำดับ
สื่อท้องถิ่นเวียดนามรายงานว่า ราคาส่งออกข้าวในเดือนตุลาคมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฝนที่ตกลงมาเป็นเวลานาน
ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงตอนใต้ ส่งผลให้ต้องชะลอการเก็บเกี่ยวและได้ผลผลิตปริมาณจำกัด
จีน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของเวียดนาม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่า เวียดนามได้เปลี่ยนไปส่งออกข้าวคุณภาพสูง อาทิ จาปอนิกา ข้าวหอม และข้าวเหนียวเพิ่มมากขึ้นและตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาเวียดนามกลับมาส่งออกข้าวได้ตามปกติหลังจากที่ชะลอการส่งออกชั่วคราวในเดือนมีนาคม เพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศจากที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)
อนึ่ง ข้อมูลจากสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่า เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 6.3 ล้านตัน ในปี 2562
สร้างรายได้รวม 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8.77 หมื่นล้านบาท) และคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะส่งออกข้าวปริมาณ 6.7 ล้านตัน
ที่มา : xinhuathai.com
กัมพูชา
นายแวง สาคอน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของกัมพูชา เผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า ในช่วง 10 เดือนแรก
ของปี 2563 กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณ 536,305 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่จีนเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2563 กัมพูชาส่งออกข้าว
ไปจีนปริมาณ 194,451 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาหรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา นอกจากนี้ กัมพูชายังส่งออกข้าวไปตลาดยุโรปปริมาณ 174,391 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12
หรือคิดเป็นร้อยละ 32.5 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด
รัฐมนตรีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า“ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 ภาพรวมการส่งออกข้าวไปยังทุกประเทศปลายทาง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น” โดยกัมพูชาส่งออกข้าวไปยัง 60 ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก
นอกจากนี้ นายลูน เย็น เลขาธิการสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) เผยกับซินหัวว่า จีนจัดเป็นตลาดใหญ่สำหรับข้าวกัมพูชา และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้กัมพูชาจะส่งออกข้าวไปจีนประมาณ 250,000 ตัน ส่วนนายงินชัย อธิบดีกรมการเกษตร กล่าวว่าการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าปี 2563 ปริมาณ
การส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศจะสูงถึง 800,000 ตัน
ที่มา : xinhuathai.com


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.89 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,176 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 295.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,115 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 61 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 412.48 เซนต์ (4,971 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 402.24 เซนต์ (4,956 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.55 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 15 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.86 ล้านไร่ ผลผลิต 28.980 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.70 ล้านไร่ ผลผลิต 27.347 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.14 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 ร้อยละ 5.97 และร้อยละ 4.07 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.54 ล้านตัน (ร้อยละ 5.30 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.49 ล้านตัน (ร้อยละ 63.79 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้นเริ่มเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.27
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.02 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.84
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.13 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.15
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,697 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,714 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.00
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,522 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,687 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 0.985 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.177 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.142 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.206 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 13.75 และร้อยละ 14.08 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.03 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 6.32 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.03 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 38.30 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.91
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
รัฐบาลมาเลเซียคาดว่าจะเก็บภาษีลาภลอย (windfall profit tax) จากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในปี 2563 ได้สูงขึ้นจากปี 2562 เนื่องจากปัจจัยด้านราคาที่มีผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นและสต๊อกน้ำมันปาล์มที่ลดลง ซึ่งใน Peninsula มีการเก็บภาษีร้อยละ 3 ถ้าราคาน้ำมันปาล์มสูงเกินตันละ 2,500 ริงกิตมาเลเซีย และใน Sabah and Sarawak มีการเก็บภาษีร้อยละ 1.5 ถ้าราคาน้ำมันปาล์มสูงเกินตันละ 3,000 ริงกิตมาเลเซีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,446.12 ดอลลาร์มาเลเซีย (25.79 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,334.04 ดอลลาร์มาเลเซีย (25.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.36    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 840.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 784.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.14
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

 
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานผลผลิตน้ำตาลทรายของอินเดีย
          Central Water Commission ของอินเดีย รายงานว่าเพียง ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 แหล่งเก็บน้ำของอินเดีย 123 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 145.66 พันล้านลูกบาศร์เมตร หรือประมาณ 85% ของความจุทั้งหมด แต่น้อยกว่าที่กักเก็บ 153.78 พันล้านลูกบาศร์เมตร ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย (ISMA ) รายงาน เพียง ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 โรงงานน้ำตาล 63 โรงงานในรัฐอุตรประเทศ ผลิตน้ำตาลได้ 131,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 68,000 ตัน ในปีก่อน และรายงาน เพียง ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 โรงงานน้ำตาล 86 โรงงานในรัฐมหราษฎระผลิตน้ำตาลได้ 286,000 ตัน ลดลงจาก 3.91 ล้านตันในปีก่อน
 



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.00 บาท ในสัปดาห์
ที่ผ่านมาร้อยละ 3.85
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,124.36 เซนต์ (12.65 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,069.32 เซนต์ (12.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.15
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 388.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 380.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 36.21 เซนต์ (24.43 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 34.09 เซนต์ (23.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.22


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด


 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.13 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 15.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 39.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 18.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,094.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,070.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 894.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 874.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,362.20 ดอลลาร์สหรัฐ (41.12 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,318.60 ดอลลาร์สหรัฐ (40.69 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.43 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 661.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 639.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.74 บาท/กิโลกรัม)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,255.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,227.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.63
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 69.25 เซนต์(กิโลกรัมละ 46.73 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 69.64 เซ็นต์ (กิโลกรัม 48.04 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.31 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,881 บาท ลดลงจาก 1,921 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,881 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,508 บาท ลดลงจาก 1,529 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,508 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท เท่ากับของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง เนื่องจากมีพายุฝนในบางพื้นที่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  77.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.32 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.39 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.73 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.50 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,700 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาททรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ความต้องการบริโภคเนื้อไก่ลดลง เนื่องจากมีพายุฝนในบางพื้นที่ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.76 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท กิโลกรัม ภาคกลาง กิโลกรัมละ 31.49 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.92 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 7.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 287 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 291 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 279 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 288 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 290 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 356 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 318 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 340 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 390 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 96.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.85 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.71 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.13 บาท และภาคใต้ 102.86 บาท


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.27 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 พฤศจิกายน 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 131.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 132.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.59 บาท ราคา สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.59 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.24 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา